ประเภทรถแทรกเตอร์ตีนตะขาบ มีอะไรบ้าง??
ลักษณะการใช้งานรถดัน หน้าที่รถแทรกเตอร์ สามารถแบ่งลักษณะ โดยมีด้วยกันดังนี้
รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบ
(Bulldozer Tractor)
รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบกว้าง
(Low Ground)
รถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย
(Ripper)
รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบ (Bulldozer Tractor)
ข้อดีของรถแทรกเตอร์ตีนตะขาบเมื่อใช้ในงานก่อสร้างก็คือ
สามารถใช้กำลังในการขับเคลื่อนได้สูง เนื่องจากจะไม่เกิดการลื่นไถลได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำงานบนพื้นที่ไม่แน่นอน
สามารถทำงานบนพื้นที่เป็นดินและบริเวณที่มีหินแหลมคมได้ เพราะหินแหลมคมจะไม่ทำให้ชุดสายพานตีนตะขาบชำรุดได้ง่าย
สามารถทำงานในพื้นที่ขรุขระได้ดี จึงทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเตรียมพื้นที่ในการทำงาน
สามารถทำงานในพื้นที่ลุ่มได้ดี เพราะมีการลอยตัว (Floatation) ดีหรือความดันที่กดลงบนพื้น (Ground Pressure) ต่ำนั่นเอง
รถดันตีนตะขาบ ก็คือเครื่องจักรกลที่เปลี่ยนกำลังของเครื่องยนต์ให้เป็นกำลังขับเคลื่อน โดยส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปหมุนล้อเฟือง (Sprocket) เพื่อไปขับชุดสายพานตีนตะขาบให้เคลื่อนที่ไปและทำให้แผ่นตีนตะขาบซึ่งติดอยู่กับสายพานตีนตะขาบตะกุยไปบนพื้น ทำให้ตัวรถเคลื่อนที่ไป
รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบกว้าง (Low Ground)
สามารถทำงานในพื้นที่ลุ่มได้ดี เพราะมีการลอยตัว (Floatation) ดีหรือความดันที่กดลงบนพื้น (Groung Pressure) ต่ำนั่นเอง
รถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย (Ripper)
เครื่องทำลายที่ติดกับรถดันตีนตะขาบจะใช้ในการขุดหิน ที่ไม่แข็งนักแทนการระเบิด โดยทั่วไปความแข็งของหินจะนิยมวัดโดยใช้เครื่องมือ Seismograph ซึ่งจะวัดความเร็วของคลื่นเสียงผ่านหินชนิดต่างๆ สำหรับความเร็วของคลื่นสียงจะมีค่าตั่งแต่ 300 เมตร/วินาที ในดินอ่อนจนถึง 6,000 เมตร/วินาทีในหินแข็ง คราดจะทำงานได้ดีสำหรับหินที่มีค่าความเร็วของคลื่นสียง 1,000 -2,000 เมตร/วินาที และหินควรจะมีรอยแตกหรือรอยแยกเปราะและเป็นชั้นๆกรมชลประทานมีใช้อยู่ประเภทเดียว คือรถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย (Ripper)ใช้ในงานประเภทดิน หิน
ความสามารถของรถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย (Ripper)
สามารถขูดหรือขุด หิน ที่แข็งไม่มากนักแทนการระเบิด
สามารถขุดดินขุดยากที่มีพื้นที่กว้างและหินที่มีความแข็งไม่มากนัก
สามารถขูดหินผุที่เป็นพื้นที่ลาดชัน หรือพื้นที่แคบๆ แทนการระเบิด