เครื่องจักร และเครื่องมือที่ใช้ในงานก่อสร้าง

งานก่อสร้างกับเครื่องจักรกลหนัก

     ในปัจจุบันเครื่องจักรกลประเภทหลายชนิด เครื่องจักรกลหลายแบรนด์ ได้เข้ามามีบทบาททั้งในด้านการผลิต การก่อสร้างและการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการที่จะได้ผลผลิตและงานก่อสร้างที่มีคุณภาพดี ความสะดวกรวดเร็วในการผลิตและการทำงาน รวมทั้งต้องการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
     เพื่อสนองตอบความต้องการดังกล่าว โรงงานผู้ผลิตเครื่องจักรกลได้ผลิตเครื่องจักรกลออกมามากมายหลายประเภท หลายชนิด และหลายขนาด บางชนิดสามารถทำงานได้หลายอย่าง บางชนิดก็ทำได้อย่างเดียว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เครื่องจักรกลประเภทต่างๆ เพื่อที่จะสามารถเลือกเครื่องจักรกลประเภท ชนิด และขนาดให้เหมาะสมกับงานก่อสร้างและการผลิต ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นผลให้การก่อสร้างและการผลิตมีประสิทธิภาพสูงสุด

ประเภทของงานก่อสร้าง

     งานก่อสร้างก็คือการดำเนินงานเพื่อสร้างสิ่งของซึ่งค่อนข้างถาวรขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการและอำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ งานก่อสร้างสามารถแบ่งตามลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็น
1. งานก่อสร้างบ้านเรือนสำหรับอยู่อาศัย
2. งานก่อสร้างด้านพัฒนาอุตสาหกรรม ได้แก่ โรงงาน และโรงเก็บของ
3. งานก่อสร้างถนน สะพาน และอุโมงค์
4. งานก่อสร้างอาคารสาธารณะ เช่น โรงแรม สถานที่ทำงาน โรงเรือนและโรงพยาบาล
5. งานก่อสร้างโคงการด้านพลังงาน เช่น โรงจักรไฟฟ้า เขื่อนเก็บกักน้ำเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้า และแท่นขุดเจาะน้ำมัน
6. งานก่อสร้างระบบชลประทาน รวมถึงเขื่อนเก็บกักน้ำ อาคารชลประทาน และคลองส่งน้ำ เป็นต้น
7. งานก่อสร้างด้านปรับปรุงที่ดิน งานเหมือง และงานเกษตรกรรม
8. งานก่อสร้างท่าเรือ สนามบิน และทางรถไฟ
9. งานก่อสร้างประเภทอื่นๆ ที่ไม่รวมอยู่ในประเภทต่างๆ เป็นต้น
งานก่อสร้างกับเครื่องจักรกลหนัก
งานก่อสร้างกับเครื่องจักรกลหนัก
งานก่อสร้างกับเครื่องจักรกลหนัก

ขั้นตอนของงานก่อสร้าง

     งานก่อสร้างก็คือการดำเนินงานเพื่อสร้างสิ่งของซึ่งค่อนข้างถาวรขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการและอำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ งานก่อสร้างสามารถแบ่งตามลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็น
1. งานก่อสร้างบ้านเรือนสำหรับอยู่อาศัย
2. งานก่อสร้างด้านพัฒนาอุตสาหกรรม ได้แก่ โรงงาน และโรงเก็บของ
3. งานก่อสร้างถนน สะพาน และอุโมงค์
4. งานก่อสร้างอาคารสาธารณะ เช่น โรงแรม สถานที่ทำงาน โรงเรือนและโรงพยาบาล
5. งานก่อสร้างโคงการด้านพลังงาน เช่น โรงจักรไฟฟ้า เขื่อนเก็บกักน้ำเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้า และแท่นขุดเจาะน้ำมัน
6. งานก่อสร้างระบบชลประทาน รวมถึงเขื่อนเก็บกักน้ำ อาคารชลประทาน และคลองส่งน้ำ เป็นต้น
7. งานก่อสร้างด้านปรับปรุงที่ดิน งานเหมือง และงานเกษตรกรรม
8. งานก่อสร้างท่าเรือ สนามบิน และทางรถไฟ
9. งานก่อสร้างประเภทอื่นๆ ที่ไม่รวมอยู่ในประเภทต่างๆ เป็นต้น

สำหรับงานก่อสร้างระบบประปาซึ่งใช้น้ำผิวดิน อาจจะประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้คือ

1. งานบุกเบิกและถางบริเวณอ่างเก็บน้ำ
2. งานก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ และอาคารควบคุมต่างๆ
3. งานก่อสร้างโรงสูบ
4. งานก่อสร้างระบบส่งน้ำดิบ
5. งานก่อสร้างโรงกรอง
6. งานก่อสร้างระบบจ่ายน้ำ
error: Copyright of MixxMachinery.