มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะสำหรับผู้ประกอบการและผู้ปฏิบัติงานเครน

ผู้ประกอบการเครน ควรรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมรถเครน เครื่องจักรกลหนัก (Crane operators should know)

ผู้ปฏิบัติงานหรือเจ้าหน้าที่ควบคุมเครน เกี่ยวกับเครื่องจักรกลหนัก คือผู้ที่บังคับขับเคลื่อนเครน ที่ควบคุมการทำงานของรถเครน หรือเครื่องจักรกลหนักชนิดต่างๆ อย่าง เครน ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่ใช้สำหรับงานก่อสร้าง
ประเภทงานก่อสร้าง การใช้งานมีมากมาย คือ ประเภทเครื่องจักรที่ใช้ยก, งานเคลื่อนย้าย, งานติดตั้ง, งานดิน, งานทำถนน, งานคอนกรีต, งานก่อสร้างฐานราก ได้แก่ เครื่องตอกเสาเข็ม, งานขุด งานเจาะ หรืองานอุโมงค์, งานรื้อถอนทำลายสิ่งก่อสร้าง
ซึ่งการออกแบบเครื่องจักร สำหรับการใช้งาน ขั้นตอนการผลิตเพื่อตอบโจทย์ลักษณะของงานที่ทำ รวมทั้งลักษณะอุปกรณ์แต่ละชิ้นถูกสร้างขึ้นเพื่อทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดไว้โดยเฉพาะ สำหรับงานขนาดเล็ก อย่างเคลื่อนวัตถุภายในโกดังหรือโรงงาน เครื่องจักรถูกออกแบบมาเพื่อเคลื่อนย้ายกล่อหรือพาเลท
และงานขนาดใหญ่ ถูกออกแบบใช้งานนอกอาคาร นอกสถานที่ ไซต์งานก่อสร้าง เพื่อเคลื่อนย้ายวัตถุสำหรับในการเตรียมการก่อสร้าง
โครงการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ หากมีการใช้เครื่องจักร ต้องใช้ความเชี่ยวชาญของผู้ปฏิบัติงานในการควบคุมนเครื่องจักรหนัก ทั้งงาน ก่อสร้างบริษัท การลงทุนภาคเอกชน งานโยธา งานสร้างของเทศบาล รวมถึงการสร้างถนนและสะพาน ชลประทาาน โครงการอื่นๆ

ผู้ปฏิบัติงานควรทราบและมีความรู้ในการใช้งานเครน

ผู้ดำเนินการควบคุมอุปกรณ์ อาจมีเพียงคนเดียวที่ไซต์งาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทีมในการก่อสร้าง ต้องทักษะการฝึกฝนผ่านการฝึกอบรมภาคปฏิบัติหรือโปรแกรมฝึกงานอย่างเป็นทางการ เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ปฏิบัติงานควบคุมเครื่องจักรกลหนักต้องผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี ให้สอดคล้องกับกฎหมายท้องถิ่นและภูมิภาค ที่มีความเกี่ยวข้องกับงานและความปลอดภัยของพนักงาน รวมทั้งการทำงานโดยภาพรวม

การปฏิบัติควบคุม เครน ทุกขั้นตอนต้องคำนึกความปลอดภัย

  • ต้องมีความรู้ ความ
  • เข้าใจเบื้องต้นในการใช้งาน โดยผ่านการอบรม
  • เข้าใจการควบคุมการใช้งานเครื่องจักรอย่างระมัดระวัง ปฏิบัติงานตามคู่มือ
  • ใส่ชุด หรือสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายได้อย่างเหมาะสมกับงาน
  • ทราบและเข้าใจ จุดอันตรายในการทำงาน ขณะที่ควบคุมเครื่องจักรกล
  • ตรวจเช็คสภาพเครื่องจักร ก่อนการปฏิบัติงานให้พร้อมใช้งานทุกครั้ง
  • การบำรุงรักษาตามระยะเวลาของเครื่องจักร
  • แก้ไขหรือซ่อมแซมเครื่องจักร หากเกิดการเสื่อมสภาพอยู่เสมอ
  • หากพบเครื่องจักรมีความผิกปกติ ชำรุดหรือสูญหายไป ให้รีบแจ้งหัวหน้างานทันที
เพื่อให้การเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับรถเครน อย่างลึกซึ้ง
ผมแนะนำให้คุณอ่านบทความรถเครนขั้นเบื้องต้นก่อน ความรู้พื้นฐานรถเครนทั้งหมด

การฝึกอบรมผู้ประกอบการเครน หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับเครน หรือปั้นจั่น

โดยผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับเครน (ปั้นจั่น) มีการทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีอันตรายค่อนข้างสูง หลากหลายรูปแบบการทำงาน เช่น การบังคับเครน ปั้นจั่น, การผูกมัด, การยกเคลื่อนย้ายวัสดุ, การใช้สัญญาณมือระหว่างการปฏิบัติงาน, มีความรู้ในการอ่านค่าตารางพิกัดการยก, มีความสามารถเลือกใช้และการตรวจสอบอุปกรณ์การยก, การประเมินน้ำหนักสิ่งของในการยก, มีทักษะวิธีผูกมัดและการยกเคลื่อนย้ายวัตถุขนาดต่างๆได้ และควรรู้เกี่ยวกับระบบเครื่องยนต์ดีเซลระบบไฮดรอลิกเบื้องต้น ที่ได้รับการฝึกฝน มีการอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เพื่อปฏิบัติใช้ในการทำงานให้เกิดความปลอดภัยอย่างสูงสุด

ผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับเครน หรือปั้นจั่น ตามกฎหมาย

ผู้ขับเครน คนให้สัญญาณเครน ถือเป็นส่วนหนึ่งของผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับเครน ปั้นจั่น จำเป็นต้องฝึกอบรมและผ่านการทดสอบจึงจะสามารถให้ปฏิบัติงานได้ตามกฏหมายที่กำหนด
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 (ประกาศในราชกิจจาฯวันที่ 6 สิงหาคม 2564 มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2564)
ข้อ ๗๒ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่นผ่านการอบรมเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการทำงานที่ปลอดภัยในการทำงานของปั้นจั่น การป้องกันอันตรายจากปั้นจั่น รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างอุปกรณ์ การตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ของปั้นจั่น รวมทั้งการฝึกอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นแต่ละประเภท โดยวิทยากรซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นแต่ละประเภท ตามหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อน้ำ พ.ศ. 2552
ข้อ ๖๖ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ผ่านการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และต้อง จัดให้มีการอบรมหรือทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดี ประกาศกำหนด
error: Copyright of MixxMachinery.