bulldozer

bulldozer

รถเกรด เกลี่ยดิน ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง
รถเกรด เกลี่ยดิน ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง

การทำงานของรถเกรด รถเกลี่ยดิน (Motor Grader)

การทำงานของรถเกรด รถเกลี่ยดิน เป็นเครื่องจักรกลอีกประเภทหนึ่งของเครื่องจักรกลงานดิน ซึ่งจะใช้ในงานขุด เกลี่ยและตบแต่งผิว สำหรับงานสร้างถนนหรืองานปรับระดับพื้น รถเกลี่ยจะเป็นเครื่องจักรกลล้อยางแบบขับเคลื่อนด้วยตัวเอง มีทั้งแบบ 4 ล้อ ขับเคลื่อน 2 ล้อ และ 4 ล้อ แบบ 6 ล้อ ขับเคลื่อน 2 ล้อ, 4 ล้อ และ 6 ล้อ ขนาดของตัวรถซึ่งนิยมกำหนดด้วยขนาดของเครื่องยนต์มีให้เลือกตั้งแต่ขนาด 50 แรงม้าจนถึง 350 แรงม้า

ลักษณะของงานที่รถเกลี่ยดินสามารถทำได้นั้น มีหลายลักษณะงานด้วยกัน แต่ที่สำคัญๆ นั้นได้แก่

1. การกระจายกองวัสดุ (Spreading a Pile)

สามารถทำได้โดยการเลื่อนใบมีดออกด้านข้าง แล้วเข้าไปดันให้กองวัสดุกระจายออกทีละน้อย ซึ่งล้อของรถเกลี่ยจะไม่ปีนกองวัสดุ และในขณะที่ดันกองวัสดุออกก็ค่อยๆ ยกใบมีดขึ้นเพื่อจะเกลี่ยวัสดุด้านหน้าของใบมีดให้กระจายออก
การกระจายกองวัสดุ (Spreading a Pile)

2. การปรับระดับพื้นที่ขรุขระ

การปรับระดับพื้นที่ขรุขระ เช่น การซ่อมถนนลูกรังหรือถนนดินประเภทอื่น การปรับระดับสามารถกระทำได้ โดยการขูดผิวพื้นเดิมที่ขรุขระออก ซึ่งในการขูดนั้นใบมีดของรถเกลี่ยจะลดลงและเอียงให้วัสดุที่ถูกขูดออกไหลไปกองไว้ด้านข้าง หลังจากนั้นก็จะเกลี่ยกองวัสดุมายัง บริเวณที่ถูกขูดออกอีกและปรับให้ได้ระดับ

การปรับระดับของพื้น (Leveling The Floor)

การปรับระดับของพื้น (Leveling The Floor)

3. การตัดร่องน้ำ (Cutting Gutter)

โดยทั่วไปแล้วในการสร้างถนน ขอบของถนนจะตัดเป็นร่องน้ำ ซึ่งรถเกลี่ยจะทำการตัดร่องน้ำโดยการกดใบมีดด้านที่จะตัดลง และยกใบมีดอกด้านหนึ่งขึ้นพร้อมกับเสียงใบมีดเพื่อให้วัสดุที่ถูกตัดออกมากองด้านข้าง การตัดนี้จะค่อยๆ ทำหลายๆ ครั้งจนได้ความลึกและความกว้างตามต้องการ ซึ่งการตัดอาจกระทำสลับกับการเกลี่ยกองวัสดุที่ถูกตัดออกขึ้นมาบนพื้นถนน

การตัดร่องน้ำ

การตัดร่องน้ำ (Trench Cutting)

กิจกรรมการทำงานรถเกรด รถเกลี่ยดิน

งานถางป่า

งานถางป่าของรถเกรด
กิจกรรมถากถาง (ป่าโปร่ง) ใช้รถปาดเกลี่ยดินขนาด 150 แรงม้า
สามารถทำงานได้ 8 ไร่/วัน

งานพื้นทางหินคลุก

งานพื้นทางหินคลุกของรถเกรด
รถปาดเกลี่ยดินขนาด 120 แรงม้า
สามารถทำงานได้ 290 ลบ.ม/วัน

รถมอเตอร์เกรดขนาด 120 แรงม้า สามารถทำงานได้

1. งานถางป่าล้มต้นไม้ สามารถทำได้ 3.50 ไร่ ต่อวัน
2. งานลูกรังบดอัดแน่น สามารถทำได้ 600 ลบ.ม. ต่อวัน
3. งานผสมหินคลุก สามารถทำได้ 290 ลบ.ม. ต่อวัน
4. งานบดอัดแน่น 85% (งานทั่วไป) สามารถทำได้ 660 ลบ.ม.ต่อวัน
5. งานบดอัดแน่น 95% (งานทั่วไป) สามารถทำได้ 600 ลบ.ม.ต่อวัน
6. งานบดอัดแน่น 95% (งานเขื่อน) สามารถทำได้ 640 ลบ.ม.ต่อวัน
7. งานบดอัดแน่น 98% (งานเขื่อน) สามารถทำได้ 575 ลบ.ม.ต่อวัน

การทำงานของรถเกรด Read More »

รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบทั้งแบบธรรมดา แบบกว้าง แบบทำลาย
รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบทั้งแบบธรรมดา แบบกว้าง แบบทำลาย

ประเภทรถแทรกเตอร์ตีนตะขาบ มีอะไรบ้าง??

ลักษณะการใช้งานรถดัน หน้าที่รถแทรกเตอร์ สามารถแบ่งลักษณะ โดยมีด้วยกันดังนี้

รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบ (Bulldozer Tractor)
รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบ
(Bulldozer Tractor)
รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบกว้าง (Low Ground)
รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบกว้าง
(Low Ground)
รถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย Ripper
รถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย
(Ripper)

รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบ (Bulldozer Tractor)

รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบ (Bulldozer Tractor)
รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบ (Bulldozer Tractor)

ข้อดีของรถแทรกเตอร์ตีนตะขาบเมื่อใช้ในงานก่อสร้างก็คือ

  • สามารถใช้กำลังในการขับเคลื่อนได้สูง เนื่องจากจะไม่เกิดการลื่นไถลได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำงานบนพื้นที่ไม่แน่นอน
  • สามารถทำงานบนพื้นที่เป็นดินและบริเวณที่มีหินแหลมคมได้ เพราะหินแหลมคมจะไม่ทำให้ชุดสายพานตีนตะขาบชำรุดได้ง่าย
  • สามารถทำงานในพื้นที่ขรุขระได้ดี จึงทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเตรียมพื้นที่ในการทำงาน
  • สามารถทำงานในพื้นที่ลุ่มได้ดี เพราะมีการลอยตัว (Floatation) ดีหรือความดันที่กดลงบนพื้น (Ground Pressure) ต่ำนั่นเอง
รถดันตีนตะขาบ ก็คือเครื่องจักรกลที่เปลี่ยนกำลังของเครื่องยนต์ให้เป็นกำลังขับเคลื่อน โดยส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปหมุนล้อเฟือง (Sprocket) เพื่อไปขับชุดสายพานตีนตะขาบให้เคลื่อนที่ไปและทำให้แผ่นตีนตะขาบซึ่งติดอยู่กับสายพานตีนตะขาบตะกุยไปบนพื้น ทำให้ตัวรถเคลื่อนที่ไป

รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบกว้าง (Low Ground)

รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบกว้าง (Low Ground)
รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบกว้าง (Low Ground)
สามารถทำงานในพื้นที่ลุ่มได้ดี เพราะมีการลอยตัว (Floatation) ดีหรือความดันที่กดลงบนพื้น (Groung Pressure) ต่ำนั่นเอง

รถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย (Ripper)

รถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย Ripper
รถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย Ripper
รถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย Ripper
เครื่องทำลายที่ติดกับรถดันตีนตะขาบจะใช้ในการขุดหิน ที่ไม่แข็งนักแทนการระเบิด โดยทั่วไปความแข็งของหินจะนิยมวัดโดยใช้เครื่องมือ Seismograph ซึ่งจะวัดความเร็วของคลื่นเสียงผ่านหินชนิดต่างๆ สำหรับความเร็วของคลื่นสียงจะมีค่าตั่งแต่ 300 เมตร/วินาที ในดินอ่อนจนถึง 6,000 เมตร/วินาทีในหินแข็ง คราดจะทำงานได้ดีสำหรับหินที่มีค่าความเร็วของคลื่นสียง 1,000 -2,000 เมตร/วินาที และหินควรจะมีรอยแตกหรือรอยแยกเปราะและเป็นชั้นๆกรมชลประทานมีใช้อยู่ประเภทเดียว คือรถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย (Ripper)ใช้ในงานประเภทดิน หิน

ความสามารถของรถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย (Ripper)

  1. สามารถขูดหรือขุด หิน ที่แข็งไม่มากนักแทนการระเบิด
  2. สามารถขุดดินขุดยากที่มีพื้นที่กว้างและหินที่มีความแข็งไม่มากนัก
  3. สามารถขูดหินผุที่เป็นพื้นที่ลาดชัน หรือพื้นที่แคบๆ แทนการระเบิด

กิจกรรมการทำงานรถดัน รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบ

ถางป่า

งานถางป่าของรถแทรคเตอร์ตีนตะขาบ
รถดันตีนตะขาบ ขนาด 270 แรงม้า
สามารถทำงานได้ 3.50 ไร่/วัน

งานดันและตัก

งานดันและตักของรถแทรคเตอร์ตีนตะขาบ
รถดันตีนตะขาบ ขนาด 140 แรงม้า
สามารถทำงานได้ 560 ลบ.ม/วัน

งานดันและตัก

งานดันและตักของรถแทรคเตอร์ตีนตะขาบ
รถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย (Ripper)
ขนาด 270 แรงม้า
สามารถทำงานได้ 560 ลบ.ม/วัน

ประเภทรถแทรกเตอร์ตีนตะขาบ มีอะไรบ้าง Read More »

error: Copyright of MixxMachinery.