รถตัก
Wheel Loader
รถตักล้อยางเล็ก
รถตักล้อยางกลาง
รถตักล้อยางใหญ่
รถตักตีนตะขาบ
รถตัก รถตักดิน (LOADER)
รถตัก รถตักดิน ที่ใช้ในงานก่อสร้างปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเป็นรถตักที่ติดตั้งบุ้งกี๋ไว้ด้านหน้าของตัวรถ ซึ่งเรียกว่ารถตักด้านหน้า (Front-end loader) รถตักจะใช้ในงานเคลื่อนย้ายวัสดุ โดยการตักวัสดุที่ขุดรวมกองไว้แล้วหรืออาจขุดตักวัสดุในสภาพเดิมที่จับตัวกันไม่แน่นนัก เมื่อตักเสร็จก็จะยกบุ้งกี๋ขึ้นและเคลื่อนย้ายวัสดุไปเทในที่ที่ต้องการ
รถตัก ด้านหน้าที่ใช้นิยมใช้กันมีอยู่ 2 แบบ คือ รถตักด้านหน้าที่ใช้นิยมใช้กันมีอยู่ 2 แบบ คือ รถตักด้านหน้าแบบล้อยาง (Wheel loader) และรถตักด้านหน้าแบบตีนตะขาบ (Crawler loader)
รถตักด้านหน้าแบบล้อยาง (Wheel loader)
รถตักด้านหน้าแบบล้อยาง จะสามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็วกว่ารถตักด้านหน้าแบบตีนตะขาบกว่าเท่าตัว ทำให้เวลาที่ใช้ในหนึ่งรอบของการทำงานของรถตักด้านหน้าแบบล้อยางน้อยกว่ารถตักด้านหน้าแบบตีนตะขาบ จึงเป็นที่นิยมใช้กันมากถ้าพื้นบริเวณที่ทำงานแข็งพอและไม่ต้องการแรงดันของตัวรถในการขุดมากนัก
รถตักด้านหน้าแบบล้อยางที่ใช้กันแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดขับเคลื่อนทั้ง 4 ล้อ (Four wheel drive) และชนิดขับเคลื่อน2 ล้อ (Two wheel drive) ซึ่งชนิดขับเคลื่อนทั้ง 4 ล้อจะใช้สำหรับงานที่ต้องการแรงดันสูง
ส่วนประกอบที่สำคัญของรถตักด้านหน้าแบบล้อยางชนิดขับเคลื่อนทั้ง 4 ล้อ โดยทั่วไปจะประกอบด้วย
เครื่องยนต์ จะนิยมใช้เครื่องยนต์ดีเซลและมีขนาดตามของตัวรถ โดยทั่วไปกำลังของเครื่องยนต์จะมีค่าประมาณ 70-80 แรงม้าต่อความจุของบุ้งกี๋หนึ่งลูกบาศก์เมตร ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับรถตักตีนตะขาบที่มีบุ้งกี๋ขนาดเดียวกัน รถตักล้อยางจะใช้เครื่องยนต์ที่มีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย
ระบบถ่ายทอดกำลัง จะมีทั้งแบบใช้คลัตซ์และแบบใช้ทอร์คคอนเวอร์เตอร์ ห้องเกียร์ ก็จะมีทั้งแบบธรรมดาและแบบใช้น้ำมันช่วย โดยทั่วไปแบบที่ใช้ทอร์คคอนเวอร์เตอร์และห้องเกียร์ แบบใช้น้ำมันช่วยจะเป็นที่นิยมใช้กันมาก เพราะมีความคล่องตัวในการทำงานกว่าแบบที่ใช้คลัตช์และห้องเกียร์แบบธรรมดา จากห้องเกียร์ก็จะมีเพลากลางแยกไปขับเฟืองท้ายที่เพลาหน้าและเพลาหลัง เพลาหน้าจะเป็นแบบยึดติดตายกับตัวรถ ส่วนเพลาหลังจะเป็นแบบเอียงได้ และที่ล้อจะมีชุดขับเคลื่อนท้ายโดยนิยมใช้แบบ Planetary
ระบบบังคับเลี้ยว จะมีทั้งแบบเลี้ยวล้อและแบบเลี้ยวโดยการหักลำตัว ในปัจจุบันการเลี้ยวแบบหักลำตัวซึ่งควบคุมการทำงานโดยระบบไฮดรอลิกจะเป็นที่นิยมใช้กันมาก
ระบบเบรก จะมีใช้ทั้งแบบไฮดรอลิกที่ใช้สุญญากาศช่วย ที่ใช้อาการช่วย และแบบเบรกลม ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดตัวรถ ถ้าเป็นรถขนาดใหญ่ก็จะใช้เบรคแบบไฮดรอลิกที่ใช้อากาศช่วยเหลือเบรกลม
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัก จะเหมือนกับอุปกรณ์ที่ใช้ตักของรถตักด้านหน้าแบบตีนตะขาบ
รถตักด้านหน้าแบบตีนตะขาบ (Crawler loader)
รถตักด้านหน้าแบบตีนตะขาบ (Front-end tractor loader) หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Front-end tractor shovel หรือ Shovel dozer จะมีส่วนประกอบที่สำคัญเช่นเดียวกับรถแทรกเตอร์ตีนตะขาบซึ่งได้แก่
เครื่องยนต์ซึ่งนิยมใช้เครื่องดีเซล และจะมีขนาดตามขนาดของตัวรถ โดยทั่วไปกำลังของเครื่องยนต์จะมีค่าประมาณ 75-85 แรงม้าต่อความจุของบุ้งกี๋หนึ่งลูกบาศก์เมตร
ระบบถ่ายทอดกำลัง จะมีทั้งแบบ Direct drive, Power shift และ Hydrostatic เช่นเดียวกับรถแทรกเตอร์ตีนตะขาบ
โครงของตัวรถ (Loader frame) ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่เป็นฐานรองรับเครื่องยนต์อุปกรณ์ถ่ายทอดกำลัง และเครื่องล่างเช่นเดียวกับรถแทรกเตอร์ตีนตะขาบแล้ว โครงของตัวรถตัก จะทำหน้าที่เป็นส่วนที่ยึดอุปกรณ์ที่ใช้ในการตักอีกด้วย
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัก โดยทั่วไปจะประกอบด้วยบุ้งกี๋ แขนยกบุ้งกี๋ และแขนที่ใช้ในการพลิกบุ้งกี๋ การควบคุมการทำงานของปุกรณ์ที่ใช้ในการตักจะกระทำด้วยระบบไฮดรอลิก โดยการใช้กระบอกไฮดรอลิก 2 ชุด ชุดแรกจะทำหน้าที่ในการยกบุ้งกี้ (Hoist ram) ซึ่งจะยึดติดกับ โครงรถและแขนยก ชุดที่สองจะทำหน้าที่ในการพลิกบุ้งกี๋ (Dump ram) ซึ่งจะยึดติดกับโครงรถและคานที่ติดกับแขนที่ใช้ในการพลิกบุ้งกี๋ อุปกรณ์ที่ใช้ในการตักจะทำหน้าที่เฉพาะการตักและเทเท่านั้น ไม่สามารถทำการขุดได้เช่นเดียวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการขุดตัก ดังนั้นการขุดจึงต้องกระทำโดยการเคลื่อนตัวรถดันบุ้งกี๋เข้าไปขุด