งานก่อสร้าง

รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบทั้งแบบธรรมดา แบบกว้าง แบบทำลาย
รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบทั้งแบบธรรมดา แบบกว้าง แบบทำลาย

ประเภทรถแทรกเตอร์ตีนตะขาบ มีอะไรบ้าง??

ลักษณะการใช้งานรถดัน หน้าที่รถแทรกเตอร์ สามารถแบ่งลักษณะ โดยมีด้วยกันดังนี้

รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบ (Bulldozer Tractor)
รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบ
(Bulldozer Tractor)
รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบกว้าง (Low Ground)
รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบกว้าง
(Low Ground)
รถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย Ripper
รถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย
(Ripper)

รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบ (Bulldozer Tractor)

รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบ (Bulldozer Tractor)
รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบ (Bulldozer Tractor)

ข้อดีของรถแทรกเตอร์ตีนตะขาบเมื่อใช้ในงานก่อสร้างก็คือ

  • สามารถใช้กำลังในการขับเคลื่อนได้สูง เนื่องจากจะไม่เกิดการลื่นไถลได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำงานบนพื้นที่ไม่แน่นอน
  • สามารถทำงานบนพื้นที่เป็นดินและบริเวณที่มีหินแหลมคมได้ เพราะหินแหลมคมจะไม่ทำให้ชุดสายพานตีนตะขาบชำรุดได้ง่าย
  • สามารถทำงานในพื้นที่ขรุขระได้ดี จึงทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเตรียมพื้นที่ในการทำงาน
  • สามารถทำงานในพื้นที่ลุ่มได้ดี เพราะมีการลอยตัว (Floatation) ดีหรือความดันที่กดลงบนพื้น (Ground Pressure) ต่ำนั่นเอง
รถดันตีนตะขาบ ก็คือเครื่องจักรกลที่เปลี่ยนกำลังของเครื่องยนต์ให้เป็นกำลังขับเคลื่อน โดยส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปหมุนล้อเฟือง (Sprocket) เพื่อไปขับชุดสายพานตีนตะขาบให้เคลื่อนที่ไปและทำให้แผ่นตีนตะขาบซึ่งติดอยู่กับสายพานตีนตะขาบตะกุยไปบนพื้น ทำให้ตัวรถเคลื่อนที่ไป

รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบกว้าง (Low Ground)

รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบกว้าง (Low Ground)
รถแทรคเตอร์ตีนตะขาบกว้าง (Low Ground)
สามารถทำงานในพื้นที่ลุ่มได้ดี เพราะมีการลอยตัว (Floatation) ดีหรือความดันที่กดลงบนพื้น (Groung Pressure) ต่ำนั่นเอง

รถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย (Ripper)

รถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย Ripper
รถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย Ripper
รถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย Ripper
เครื่องทำลายที่ติดกับรถดันตีนตะขาบจะใช้ในการขุดหิน ที่ไม่แข็งนักแทนการระเบิด โดยทั่วไปความแข็งของหินจะนิยมวัดโดยใช้เครื่องมือ Seismograph ซึ่งจะวัดความเร็วของคลื่นเสียงผ่านหินชนิดต่างๆ สำหรับความเร็วของคลื่นสียงจะมีค่าตั่งแต่ 300 เมตร/วินาที ในดินอ่อนจนถึง 6,000 เมตร/วินาทีในหินแข็ง คราดจะทำงานได้ดีสำหรับหินที่มีค่าความเร็วของคลื่นสียง 1,000 -2,000 เมตร/วินาที และหินควรจะมีรอยแตกหรือรอยแยกเปราะและเป็นชั้นๆกรมชลประทานมีใช้อยู่ประเภทเดียว คือรถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย (Ripper)ใช้ในงานประเภทดิน หิน

ความสามารถของรถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย (Ripper)

  1. สามารถขูดหรือขุด หิน ที่แข็งไม่มากนักแทนการระเบิด
  2. สามารถขุดดินขุดยากที่มีพื้นที่กว้างและหินที่มีความแข็งไม่มากนัก
  3. สามารถขูดหินผุที่เป็นพื้นที่ลาดชัน หรือพื้นที่แคบๆ แทนการระเบิด

กิจกรรมการทำงานรถดัน รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบ

ถางป่า

งานถางป่าของรถแทรคเตอร์ตีนตะขาบ
รถดันตีนตะขาบ ขนาด 270 แรงม้า
สามารถทำงานได้ 3.50 ไร่/วัน

งานดันและตัก

งานดันและตักของรถแทรคเตอร์ตีนตะขาบ
รถดันตีนตะขาบ ขนาด 140 แรงม้า
สามารถทำงานได้ 560 ลบ.ม/วัน

งานดันและตัก

งานดันและตักของรถแทรคเตอร์ตีนตะขาบ
รถดันตีนตะขาบติดเครื่องทำลาย (Ripper)
ขนาด 270 แรงม้า
สามารถทำงานได้ 560 ลบ.ม/วัน

ประเภทรถแทรกเตอร์ตีนตะขาบ มีอะไรบ้าง Read More »

การทำงานระบบไฮดรอลิกของรถขุด รถแบคโฮ รถแม็คโคร
การทำงานระบบไฮดรอลิกของรถขุด รถแบคโฮ รถแม็คโคร

การทำงานของรถขุดแบบตักเข้าหาตัวรถ

ลักษณะการทำงานรถขุด หน้าที่รถขุดดิน แบบตักเข้าหาตัวรถในปัจจุบันจะเป็นแบบที่ทำงานโดยระบบไฮดรอลิกล้วน ทั้งการขับเคลื่อน การหมุนส่วนบน และการทำงานอุปกรณ์ขุดตัก จึงนิยมเรียกว่า Hydraulic Excavator ซึ่งจะมีทั้งแบบล้อยางที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองและแบบตีนตะขาบ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นแบบตีนตะขาบ เพราะสามารถทำงานได้ดีในที่ลุ่มและมีการทรงตัวที่ดีในขณะทำการขุด สำหรับอุปกรณ์ที่สำคัญของรถขุดแบบตักเข้าหาตัวรถ

ส่วนประกอบรถขุด
ส่วนประกอบของรถขุดแบบตักเข้าหาตัวรถ

ระบบไฮดรอลิกของรถขุด แบบเข้าหาตัวรถ

ระบบไฮดรอลิกของรถขุด ตักเข้าหาตัวรถนับว่าเป็นระบบที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นระบบที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของตัวรถและอุปกรณ์เกือบทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยปั๊มแบบเกียร์ 3 ตัว ปั๊มตัวที่หนึ่งจะส่งน้ำมันไปยังชุดวาล์วควบคุมด้านขวา โดยจะควบคุมการทำงานของกระบอกไฮดรอลิกยกแขนยก (Boom Cylinder) กระบอกไฮดรอลิกของบุ้งกี๋ (Bucket Or Dipper Cylinder) และมอเตอร์ขับเคลื่อนล้อเฟืองตัวขวา ปั๊มตัวที่สองจะส่งน้ำมันไปยังชุดวาล์วควบคุมด้านซ้าย โดยจะควบคุมการทำงานของกระบอกไฮดรอลิกยกแขน มอเตอร์ขับเคลื่อนล้อเฟืองตัวซ้าย กระบอกไฮดรอลิกของแขนต่อ (Dipper Arm Cylinder) และมอเตอร์สำหรับหมุนส่วนบนของตัวรถ (Swing Motor) ส่วนปั๊มตัวที่สามจะส่งน้ำมันไปยังเบรก
ระบบไฮดรอลิกรถขุด
ผังของระบบไฮดรอลิกของรถขุดแบบตักเข้าหาตัวรถ

การทำงานระบบไฮดรอลิกรถขุด Read More »

รถขุดดิน รถแบ็คโฮ รถแม็คโคร มีอยู่หลายแบบ
รถขุดดิน รถแบ็คโฮ รถแม็คโคร มีอยู่หลายแบบ

โครงสร้างรถขุด หรือรถแบคโฮ หรือรถแม็คโคร

ส่วนประกอบรถขุด หรือรถแบคโฮ หรือรถแม็คโคร ซึ่งรถขุดเป็นเครื่องจักรกลสำหรับงานก่อสร้างอีกประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายวัสดุซึ่งสามารถจะทำการขุดและตักแล้วเคลื่อนย้ายไปเท โดยทั่วไปจะมีแขนยื่นบุ้งกี๋หรือที่จับออกไปขุดและตัก และจะหมุนส่วนบนของตัวรถไปยังตำแหน่งที่ต้องการ แล้วก็จะเทวัสดุุออกจากบุ้งกี๋หรือที่จับ ส่วนด้านล่างของตัวรถที่สัมผัสกับพื้นจะไม่เคลื่อนย้ายสำหรับการทำงานแต่ละวงจร

รถขุด รถแบคโฮ รถแม็คโคร (Excavator) นี้นิยมแบ่งเป็นแบบต่างๆ ตามลักษณะของการขุดโดยแบ่งออกเป็น

  • รถขุดแบบตักเข้าหาตัวรถหรือตักตามลักษณะการทำงานของจอบ (Hoe)
  • รถขุดแบบตักออกจากตัวรถหรือตักตามลักษณะการทำงานของพลั่ว (Shovel)
  • รถขุดแบบคีบ (Clamshell)
  • รถขุดแบบลากดึง (Dragline)
รถขุดแบบตักเข้าหาตัวรถหรือตักตามลักษณะการทำงานของจอบ
รถขุดแบบตักเข้าหาตัวรถหรือตักตามลักษณะการทำงานของจอบ
(Hoe)
รถขุดแบบตักออกจากตัวรถหรือตักตามลักษณะการทำงานของพลั่ว
รถขุดแบบตักออกจากตัวรถหรือตักตามลักษณะการทำงานของพลั่ว
(Shovel)
รถขุดแบบคีบ
รถขุดแบบคีบ
(Clamshell)
รถขุดแบบลากดึง
รถขุดแบบลากดึง
(Dragline)

โครงสร้างของรถขุดสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

1. ส่วนบนหรือส่วนที่หมุน (Revolving Superstructure) ซึ่งจะประกอบด้วยเครื่องยนต์ ส่วนของระบบถ่ายทอดกำลัง ระบบควยคุมการทำงานของอุปกรณ์และห้องพนักงานขับเคลื่อน
2. ส่วนที่สองก็คือส่วนที่รองรับส่วนที่ (Mounting Or Travel Unit) หมุนหรือส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ซึ่งมีอยู่ 3 แบบ คือ
  • แบบรถบรรทุกล้อยาง (Rubber Tire Carrier Mountings)
  • แบบล้อยางที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง (Rubber Tire Carrier Mounting Self-Propelled)
  • แบบตีนตะขาบ (Crawler Mounting)
3. ส่วนที่สามก็คือส่วนที่ทำงานขุดซึ่งติดตั้งเข้ากับส่วนบนหรือส่วนที่หมุน (Attachment) โดยทั่วไปก็จะประกอบด้วยแขน แขนต่อ และบุ้งกี๋ ตามลักษณะของการขุดตามที่อธิบายไว้

รายละเอียดของส่วนบน ส่วนที่รองรับ และที่ทำงานขุดตามรูป

โครงสร้างรถขุด
โครงสร้างของรถขุด
ส่วนประกอบรถขุด
ส่วนประกอบของรถขุดแบบตักเข้าหาตัวรถ

โครงสร้างรถขุด Read More »

ประเภทของ เครื่องจักรกลหนัก ที่เหมาะสำหรับงานก่อสร้าง
ประเภทของ เครื่องจักรกลหนัก ที่เหมาะสำหรับงานก่อสร้าง

ประเภทของเครื่องจักรกลหนักที่ใช้ในงานก่อสร้าง

ประเภทของเครื่องจักรกลหนักที่ใช้ในงานก่อสร้างโดยทั่วไปจะถูกกำหนดด้วยลักษณะของงาน วิธีและเทคนิคที่ใช้ในการทำงาน ในปัจจุบันเครื่องจักรกลหนักที่ใช้ในงานก่อสร้างสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. เครื่องจักรกลแบบพิเศษที่ออกแบบและผลิตสำหรับใช้งานก่อสร้างงานหนึ่งงานใดโดยเฉพาะ
2. เครื่องจักรกลแบบมาตราฐานที่บริษัทผู้ผลิตผลิตออกมาจำหน่ายในตลาดสำหรับงานก่อสร้างทั่วๆไป
ประเภทของเครื่องจักรกลหนักที่ใช้ในการก่อสร้าง
เครื่องจักรกลหนัก
ประเภทของเครื่องจักรกลหนักที่ใช้ในการก่อสร้าง
เครื่องจักรกลหนัก
ประเภทของเครื่องจักรกลหนักที่ใช้ในการก่อสร้าง
เครื่องจักรกลหนัก
ประเภทของเครื่องจักรกลหนักที่ใช้ในการก่อสร้าง
เครื่องจักรกลหนัก

สำหรับเครื่องจักรกลแบบมาตราฐานนี้สามารถแบ่งเป็นชนิดต่างๆ ตามลักษณะของงานได้คือ

1. เครื่องจักรกลงานย้ายวัสดุแข็งขนาดใหญ่ เครื่องจักรกลชนิดนี้จะใช้สำหรับงานย้ายวัสดุขนาดใหญ่ทั่วๆไป เช่น เสาคาน พื้น บุ้งกี๋คอนกรีต ไม้แบบ เหล็กเส้น โดยจะเคลื่อนย้ายไปในแนวราบหรือแนวดิ่ง หรือทั้งแนวราบและแนวดิ่ง เครื่องจักรกลเหล่านี้ได้แก่ รถยก(โฟคลิฟท์) รถเครน ลิฟท์ และเทาเวอร์เครน เป็นต้น เครื่องจักรกลงานย้ายวัสดุแข็งขนาดใหญ่จะใช้ในการก่อสร้างแทบทุกประการ เช่น งานก่อสร้างอาคารและโครงสร้าง งานสร้างเขื่อน
2. เครื่องจักรกลงานย้ายวัสดุแข็งขนาดเล็ก ซึ่งวัสดุแข็งขนาดเล็กในที่นี้หมายถึงวัสดุที่มีขนาดเล็กมาก เมื่ออยู่รวมกันมากๆ จะไม่มีรูปร่างของตัวเองได้แก่ กรวด ทราย หิน ซีเมนต์ และคอนกรีต เป็นต้น เครื่องจักรกลที่ใช้สำหรับงานขนย้ายวัสดุประเภทนี้คือ เครื่องลำเลียง(conveyors) ชนิดต่างๆ
3. เครื่องจักรกลงานผสมวัสดุ เครื่องจักรกลชนิดนี้ใช้ในการผสมวัสดุหลายชนิดเข้าด้วยกัน ได้แก่ เครื่องผสมคอนกรีต และเครื่องผสมแอสฟัลต์ เป็นต้น
4. เครื่องจักรกลสำหรับเคลื่อนย้ายของไหล เครื่องจักรกลชนิดนี้จะใช้ในการสูบอัดของไหล เช่น ก๊าซและของเหลว เครื่องจักรประเภทนี้ได้แก่เครื่องอัดอากาศ เครื่องสูบน้ำ และปั๊มคอนกรีต เป็นต้น
5. เครื่องจักรกลงานเจาะและตอก ได้แก่ เครื่องเจาะชนิดต่างๆ และเครื่องตอกเสาเข็ม เป็นต้น
6. รถบรรทุกประเภทต่างๆ ซึ่งใช้ในการขนย้ายวัสดุไปไกล ได้แก่ รถบรรทุกเทท้าย รถบรรทุกน้ำ และรถบรรทุกกระบะ เป็นต้น
7. เครื่องจักรกลงานทำและซ่อมผิวพื้น ได้แก่ เครื่องขูดผิวแอสฟัลต์ เครื่องปูผิวแอสฟัลต์ และเครื่องปูผิวคอนกรีต เป็นต้น
8. เครื่องจักรกลงานดิน เครื่องจักรกลเหล่านี้จะใช้ในงาน ขุด ขูด ตัด ขนย้าย บดอัด และตกแต่งผิวดิน (รวมทั้งหิน และวัสดุอื่นๆ ที่เป็นส่วนประกอบของพื้นดิน ได้แก่ แร่ธาตุ ต้นไม้ เป็นต้น) เครื่องจักรกลงานดิน เป็นเครื่องจักรกลที่จะต้องใช้งานหลายประเภท จึงมีเครื่องกลหลายชนิด แต่ละชนิดอาจจะทำงานได้หลายประเภทซึ่งพอสรุปชนิดของเครื่องจักรกลตามประเภทของงานได้ดังตาราง
ชนิดเครื่องจักรกลหนัก การทำงานเครื่องจักรกลหนักแต่ละชนิด

ประเภทของเครื่องจักรกลหนักที่ใช้ในงานก่อสร้าง Read More »

error: Copyright of MixxMachinery.