เครื่องจักร และเครื่องมือที่ใช้ในงานก่อสร้าง
เครื่องจักร และเครื่องมือที่ใช้ในงานก่อสร้าง

งานก่อสร้างกับเครื่องจักรกลหนัก

     ในปัจจุบันเครื่องจักรกลประเภทหลายชนิด เครื่องจักรกลหลายแบรนด์ ได้เข้ามามีบทบาททั้งในด้านการผลิต การก่อสร้างและการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการที่จะได้ผลผลิตและงานก่อสร้างที่มีคุณภาพดี ความสะดวกรวดเร็วในการผลิตและการทำงาน รวมทั้งต้องการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
     เพื่อสนองตอบความต้องการดังกล่าว โรงงานผู้ผลิตเครื่องจักรกลได้ผลิตเครื่องจักรกลออกมามากมายหลายประเภท หลายชนิด และหลายขนาด บางชนิดสามารถทำงานได้หลายอย่าง บางชนิดก็ทำได้อย่างเดียว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เครื่องจักรกลประเภทต่างๆ เพื่อที่จะสามารถเลือกเครื่องจักรกลประเภท ชนิด และขนาดให้เหมาะสมกับงานก่อสร้างและการผลิต ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นผลให้การก่อสร้างและการผลิตมีประสิทธิภาพสูงสุด

ประเภทของงานก่อสร้าง

     งานก่อสร้างก็คือการดำเนินงานเพื่อสร้างสิ่งของซึ่งค่อนข้างถาวรขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการและอำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ งานก่อสร้างสามารถแบ่งตามลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็น
1. งานก่อสร้างบ้านเรือนสำหรับอยู่อาศัย
2. งานก่อสร้างด้านพัฒนาอุตสาหกรรม ได้แก่ โรงงาน และโรงเก็บของ
3. งานก่อสร้างถนน สะพาน และอุโมงค์
4. งานก่อสร้างอาคารสาธารณะ เช่น โรงแรม สถานที่ทำงาน โรงเรือนและโรงพยาบาล
5. งานก่อสร้างโคงการด้านพลังงาน เช่น โรงจักรไฟฟ้า เขื่อนเก็บกักน้ำเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้า และแท่นขุดเจาะน้ำมัน
6. งานก่อสร้างระบบชลประทาน รวมถึงเขื่อนเก็บกักน้ำ อาคารชลประทาน และคลองส่งน้ำ เป็นต้น
7. งานก่อสร้างด้านปรับปรุงที่ดิน งานเหมือง และงานเกษตรกรรม
8. งานก่อสร้างท่าเรือ สนามบิน และทางรถไฟ
9. งานก่อสร้างประเภทอื่นๆ ที่ไม่รวมอยู่ในประเภทต่างๆ เป็นต้น
งานก่อสร้างกับเครื่องจักรกลหนัก
งานก่อสร้างกับเครื่องจักรกลหนัก
งานก่อสร้างกับเครื่องจักรกลหนัก

ขั้นตอนของงานก่อสร้าง

     งานก่อสร้างก็คือการดำเนินงานเพื่อสร้างสิ่งของซึ่งค่อนข้างถาวรขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการและอำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ งานก่อสร้างสามารถแบ่งตามลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็น
1. งานก่อสร้างบ้านเรือนสำหรับอยู่อาศัย
2. งานก่อสร้างด้านพัฒนาอุตสาหกรรม ได้แก่ โรงงาน และโรงเก็บของ
3. งานก่อสร้างถนน สะพาน และอุโมงค์
4. งานก่อสร้างอาคารสาธารณะ เช่น โรงแรม สถานที่ทำงาน โรงเรือนและโรงพยาบาล
5. งานก่อสร้างโคงการด้านพลังงาน เช่น โรงจักรไฟฟ้า เขื่อนเก็บกักน้ำเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้า และแท่นขุดเจาะน้ำมัน
6. งานก่อสร้างระบบชลประทาน รวมถึงเขื่อนเก็บกักน้ำ อาคารชลประทาน และคลองส่งน้ำ เป็นต้น
7. งานก่อสร้างด้านปรับปรุงที่ดิน งานเหมือง และงานเกษตรกรรม
8. งานก่อสร้างท่าเรือ สนามบิน และทางรถไฟ
9. งานก่อสร้างประเภทอื่นๆ ที่ไม่รวมอยู่ในประเภทต่างๆ เป็นต้น

สำหรับงานก่อสร้างระบบประปาซึ่งใช้น้ำผิวดิน อาจจะประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้คือ

1. งานบุกเบิกและถางบริเวณอ่างเก็บน้ำ
2. งานก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ และอาคารควบคุมต่างๆ
3. งานก่อสร้างโรงสูบ
4. งานก่อสร้างระบบส่งน้ำดิบ
5. งานก่อสร้างโรงกรอง
6. งานก่อสร้างระบบจ่ายน้ำ

งานก่อสร้างกับเครื่องจักรกล Read More »

รถขุด คือหนึ่งในเครื่องจักรกลหลักพื้นฐานในหลากหลายธุรกิจ
รถขุด คือหนึ่งในเครื่องจักรกลหลักพื้นฐานในหลากหลายธุรกิจ

รถขุดทำงานในงานก่อสร้าง

รถขุด รถขุดดิน ใช้ในงานขุดดิน ตักดิน ลอกคูคลองแม่น้ำ หรือเรียกว่า “รถแบคโฮ รถแมคโคร” ลักษณะการทำงานของรถขุด บังคับการใช้งานโดยการเคลื่อนไหวแบบมีคันเร่งและคันโยก ควบคุมอุปกรณ์เคลื่อนย้ายไปด้านข้างและด้านหน้า ซึ่งเป็นเครื่องจักรกลหนักที่ใช้สำหรับการก่อสร้างอีกประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายวัสดุ สามารถทำการขุดและตักแล้วเคลื่อนย้ายไปมา งานรื้อถอน เหมืองแร่ การขุดลอกแม่น้ำ คูคลอง หรือบ่อน้ำ ฯลฯ

รถขุด โดยทั่วไปจะมีแขนยื่นบุ้งกี๋หรือที่จับออกไปเพื่อขุดหรือตัก และจะหมุนส่วนบนของตัวรถไปยังตำแหน่งที่ต้องการ แล้วก็จะเทวัสดุออกจากบุ้งกี้หรือที่จับ ส่วนด้านล่างของตัวรถที่ส้มผัสกับพื้นจะไม่เคลื่อนย้ายสำหรับการทำงานแต่ละวงจร
รถขุด Hyundai
รถขุด Hyundai
รถขุด JCB
รถขุด JCB
รถขุด cat
รถขุด Caterpillar
รถขุด caterpillar
รถขุด Caterpillar

ในการขับเคลื่อนด้วยล้อรถขุดมี 2 แบบ คือ

  • รถขุดล้อยาง (Wheel excavator)
  • รถขุดตีนตะขาบ (Crawler excavator)

รถขุด (Excavator) ประเภทการขุดตัก

นิยมแบ่งเป็นแบบต่างๆ ตามลักษณะของการขุดตักโดยแบ่งออกเป็นรถขุดตักแบบตักเข้าหาตัวรถหรือตักตามลักษณะการทำงาน
  • รถขุดตักแบบจอบ (Hoe)
  • รถขุดตักแบบตักออกจากตัวรถหรือตักตามลักษณะการทำงานของพลั่ว (Shovol)
  • รถขุดตักแบบคีบ (Clamshell)
  • รถขุดตักแบบลากดึง (Draglie)

รถขุดทำงานในงานก่อสร้าง Read More »

ประเภทของเครน แต่ละประเภท
ประเภทของเครน แต่ละประเภท

ประเภทรถเครน ที่นิยมในงานก่อสร้าง

ประเภทรถเครนที่ใช้ในไซต์งานก่อสร้าง หรือเรียกว่า เครน ที่ใช้ในงานก่อสร้าง หากพูดถึงรถเครนแล้ว มีการใช้งานมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นเครื่องจักรกลหนักที่ใช้สำหรับงานการก่อสร้างมานับพันปี ตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ เครนมีหลากหลายประเภท (แบบเคลื่อนที่และคงที่แบบติดตั้ง) และลักษณะการใช้งาน

เครนเคลื่อนที่ (Mobile Cranes)

รถเครนมีทั้งเครนตีนตะขาบและรถเครนล้อยาง ใช้งานได้อย่างคล่องตัว มีความสามารถใช้งานได้ทั้วบริเวณรอบไซต์งานก่อสร้าง จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

เครนยกพื้น เครนดาดฟ้า

1. เครนยกพื้น (Carry Deck Crane)

เครนยกพื้น เครนดาดฟ้า พัฒนามาจากเครนแบบเก่า มีขนาดเล็ก 4ล้อหมุนได้ 360 องศา สำหรับการเคลื่อนที่แบบหมุนวนและแบบไม่ต่อเนื่อง เคลื่อนที่ได้ในพื้นที่แคบ เหมาะกับใช้งานในไซต์งานหลายแห่ง

เครนตีนตะขาบ

2. เครนตีนตะขาบ (Crawler Crane)

เครนตีนตะขาบ มีล้อลักษณะยาวรีและมีบูมสาน (Lattices Boom) อีกชั้น ความหนักของล้อ เหมาะกับการบดอัดพื้นที่ ไม่ติดหล่มง่าย มีกำลัง ลักษณะงานเน้นปรับพื้นที่ ไม่นิยมใช้เครนตีนตะขาบวิ่งระยะไกล เนื่องจากทำให้กลไกล้อเสียหายได้

เรือเครน เครนลอยน้ำ

3. เครนลอยน้ำ (Floating Crane)

เรือเครนหรือเครนลอยน้ำ ใช้สำหรับงานโครงการในทะเล เช่น ท่าเรือ แท่นขุดเจาะน้ำมัน มีประวัติใช้งานมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ช่วงยุคกลาง และพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง

เครนแบบราฟเตอเรน

4. เครนแบบราฟเตอเรน (Rough Terrain Crane)

เครนภูมิประเทศหยาบ เครนล้อยางเหมือนทรัคเครนแต่ตัวรถจะสั้นกว่า ถูกสร้างมาใช้งานที่เหมาะกับงานพื้นที่ขรุขระ ติดตั้งบูมยืดไสลด์และคันบังคับเพื่อปรับปรุงเสถียรภาพและทำให้การเคลื่อนย้ายสามารถจัดการได้ดีขึ้นในพื้นที่แคบและขรุขระ โดยรวม เครนประเภทนี้เป็นตัวกลางของรถเครนตีนตะขาบกับรถเครนแบบทรัคเครน คือ ทำงานหนัก พื้นที่บุกเบิก ไม่ติดหล่มง่าย เหมือนรถตีนตะขาบ แต่ไม่สมบุกสมบันเท่า ขับเคลื่อน 2 หรือ 4 ล้อ ข้ามจังหวัดก็ได้ แต่ไม่คล่องตัวแบบรถทรัคเครน

เครนใหญ่

5. เครนใหญ่ ( All Terrain Cranes)

รถเครนใหญ่ รวมคุณสมบัติที่ผู้ใช้ต้องการ วิ่งได้เร็ว ใช้งานในพื้นที่ขรุขระ สมบุกสมบัน ซึ่งเครนใหญ่กว่าเครนแบบราฟเตอเรน มีล้อมากกว่า แต่ติดปัญหาเรื่องการเลี้ยวมุมแคบ

รถบรรทุกติดเครน

6. รถบรรทุกติดเครน (Truck-mounted Crane)

รถบรรทุกติดเครนหรือรถเฮี๊ยบ ประกอบด้วยสองส่วนคือส่วนบรรทุก (รถบรรทุก) และบูม (แขน) ติดตั้งตัวถ่วงน้ำหนักและขากรรเชียงเพื่อการทรงตัวทำให้เคลื่อนที่ได้ช้าในขณะที่รับน้ำหนักมาก มีความโดดเด่นสามารถขับเคลื่อนตามท้องถนนได้ สามารถวิ่งระยะทางไกลๆได้

เครนคงที่ (Fixed Cranes)

มีการติดตั้งที่สถานที่หรือจุดเดียวและส่วนใหญ่จำเป็นต้องนำเข้ามาและประกอบที่ไซต์งานของโครงการ ขาดความคล่องตัว แต่สามารถยกน้ำหนักได้มากกว่าและยกได้สูงมากกว่าเครนเคลื่อนที่

เครนสะพาน เครนเหนือศีรษะ

7. เครนสะพาน / เครนเหนือศีรษะ (Bridge/Overhead Crane)

เครนสะพานหรือเครนเหนือศีรษะ รองรับด้วยคานเหล็กสองอันที่คร่อมภาระงานโดยที่รอก (กลไกการยก) เคลื่อนที่ไปตามส่วนสะพานของเครน

เครนเหนือศีรษะมีสองประเภทย่อย ได้แก่

  • เครนขาสูง (Gantry Crane)

    การทำงานคล้ายกับเครนรางเลื่อนทั่วไป ส่วนที่ต่างออกไปคือมีรางวิ่งเพียงรางเดียว

  • เครนติดผนังหรือเครนแบบบูมสวิง (Jib Cranes)

    ส่วนมากจะถูกติดตั้งคันบูมไว้กับโครงสร้างหลักของอาคาร เครนตั้งเสายื่นแขน มีความเหมาะสมใช้สำหรับงานยกวัตถุงาน หรือ สินค้าเฉพาะพื้นที่รอบรัศมี ความยาวของวงแขนที่ยื่นหมุนของชุดเครน ส่วนมากเผ็นเครนขนาดเล็ก ยกได้ไม่เกิน 10 ตัน

เครนขนถ่ายจำนวนมาก

8. เครนขนถ่ายจำนวนมาก (Bulk-handling Crane)

สำหรับงานขนย้ายวัสดุจำนวนมาก เช่น ถ่านหินหรือแร่ธาตุ

เครนหัวค้อน

9. เครนหัวค้อน (Hammerhead Crane)

เครนหัวค้อน มักใช้กันมากในโครงการก่อสร้าง เคลื่อนที่ไปข้างหน้าและถอยหลังในแนวนอนตามแขนเครน เครนประเภทนี้มีน้ำหนักมากใช้ในไซต์งาน

รถยกเครน

10. เครนยกของ (Stacker Crane)

เครนยกของ มีกลไกเหมือนรถยกและได้รับการออกแบบมาเพื่อการจัดเก็บในคลังสินค้าเป็นหลัก

เครนพับได้

11. เครนพับได้ (Telescopic Crane)

เครนแบบยืดไสลด์ติดตั้งบูม (แขน) ที่ติดตั้งกระบอกไฮดรอลิกที่ช่วยให้สามารถเปลี่ยนความยาวได้เช่นเดียวกัน

ทาวเวอร์เครน

12. ทาวเวอร์เครน (Tower Crane)

ทาวเวอร์เครน นิยมใช้ในการก่อสร้างอาคารสูง เครนติดตั้งบนเสามีส่วนที่ยื่นออกมาในแนวนอนจากเสา (ส่วนของหอคอย) ซึ่งวางอยู่บนฐานคอนกรีต เป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายวัสดุที่มีน้ำหนักมาก

การเลือกเครนที่เหมาะสมกับลักษณะงาน

คุณต้องพิจาณาลักษณะรายละเอียดโครงการทั้งหมดก่อน แล้วคุณจะสามารถระบุได้ว่าคุณจะต้องใช้งานเครนประเภทใดเพื่อให้งานก่อสร้างประสบความสำเร็จ ในทางปฏิบัติงานก่อสร้างทุกประเภทจำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายวัสดุที่มีน้ำหนักมากดังนั้นการมีเครนในมือจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในการใช้เครนอย่างปลอดภัยและถูกต้อง อย่างไรก็ตามผู้ควบคุมและผู้ส่งสัญญาณจะต้อง “มีคุณสมบัติที่กำหนด” เท่านั้นจึงจะสามารถทำงานได้

ประเภทของเครน Read More »

error: Copyright of MixxMachinery.